วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ตัวย่างแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

แผนการจัดประสบการณ์พัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก
ด้วยกิจกรรมประกอบอาหาร   ชั้นอนุบาลปีที่  2  ภาคเรียนที่   2   ปีการศึกษา  2552
เรื่อง  ยำผลไม้รวม       เวลา  40  นาที              ใช้วันที่  6  พฤศจิกายน  2552


สาระสำคัญ
            ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กมีความสำคัญต่อเด็ก คือ เด็กที่สามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อตา มือ  นิ้วมือ และแขน จะทำให้สามารถขีดเขียนและลากเส้นได้ดี นั่นคือความสามารถ ในการใช้กล้ามเนื้อเล็กมีความสำคัญต่อพื้นฐานในการพัฒนาความสามารถในการเขียนตัวอักษรในขั้นต่อไป

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.            เด็กสามารถใช้มือและนิ้วมือเคลื่อนไหวหรือปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว
2.            เด็กสามารถใช้มือและนิ้วมือในการหยิบ จับ อุปกรณ์ ส่วนผสมตามลักษณะงานที่กำหนดได้
3.            เด็กสามารถบอกวิธีการทำปั้นข้าวจี่ได้
4.            เด็กสามารถสรุปความคิดรวบยอดจากการจัดกิจกรรมได้
5.            เด็กสามารถปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข  สนุกสนาน  เพลิดเพลิน

สาระการเรียนรู้

            1.   สาระที่ควรเรียนรู้
                  1.1   ชื่อ สี และรูปทรงของผลไม้ชนิดต่าง ๆ
                  1.2   ประโยชน์ของผลไม้
                  1.3   วิธีการทำยำผลไม้รวม
            2.   ประสบการณ์สำคัญ
                  2.1   การทำยำผลไม้รวม
                  2.2   การใช้กล้ามเนื้อเล็กให้คล่องแคล่ว
                  2.3   การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
                  2.4   การทำงานร่วมกับเพื่อนอย่างมีความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน
                  2.5   การเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ แบ่งปัน
                  2.6   การแสดงความคิดเห็น  การสนทนา และตอบคำถาม
                  2.7   การสรุปความคิดรวบยอดจากการจัดกิจกรรม
                  2.8   การรักษาความสะอาด

การจัดกิจกรรม

            ขั้นนำ
            1.   ให้เด็กเล่นเกม ปิดตาคลำ  โดยให้นักเรียนใช้ผ้าปิดตา เดินมาคลำ ผลไม้ภายในกล่อง ให้เด็กบอกลักษณะที่คลำได้ แล้วบอกชื่อว่าเป็นผลไม้ชนิดใด  เด็กคนใดทายถูกว่าเป็นผลไม้ชนิดใด ครูให้เพื่อน ๆ ปรบมือให้ และให้คำชมเชย
            ขั้นดำเนินกิจกรรม
            1.   บอกชื่อกิจกรรม  แนะนำส่วนผสม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำยำผลไม้รวม
            2.   เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับผลไม้ที่ครูเตรียมมาทำยำผลไม้รวม    ว่าผลไม้แต่ละชนิดมีชื่อว่าอะไรบ้าง  มีสีอะไร  มีรูปทรงอย่างไร  และมีประโยชน์อย่างไร
            3.   แนะนำการทำงานร่วมกับผู้อื่น  ไม่เล่นไม่หยอกล้อกัน  รู้จักเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อน  และอธิบายวิธีทำยำผลไม้รวมให้เด็กเข้าใจ 
            4.   แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม 5  กลุ่ม ๆ ละ 7  คน  เพื่อให้เด็กได้รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายและทำกิจกรรมครบทุกคน
            5.   เด็กปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนจากชุดกิจกรรมการประกอบอาหาร เรื่อง   ยำผลไม้รวม  ของ นางชลธิชา  แสงทอง โดยครูคอยดูแลการปฏิบัติกิจกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิด  และคอยสังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกันของเด็ก
            6.   เด็กรับประทานยำผลไม้รวมร่วมกัน  เสร็จแล้วช่วยกันเก็บสถานที่ และทำความสะอาดมือให้เรียบร้อย


            ขั้นสรุปกิจกรรม
            1.   ใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิดเชื่อมโยงการเรียนรู้จากกิจกรรมและ                ประสบการณ์จริง  ดังนี้
            1.1   เด็ก ๆ มีความรู้สึกอย่างไรบ้างในการทำยำผลไม้รวม
            1.2   รสชาดของยำผลไม้รวมเป็นอย่างไรบ้าง
            1.3   เด็ก ๆ ชอบทานผลไม้ชนิดใดมากที่สุดในยำผลไม้รวม  
            1.4   เมื่อเพื่อนต้องการความช่วยเหลือเราต้องทำอย่างไร
            2.   นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับวิธีทำยำผลไม้รวม  และร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการทำงานร่วมกับผู้อื่น  การรู้จักเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ แบ่งปัน การรักษาความสะอาด

สื่อ/อุปกรณ์

1.            ชุดกิจกรรมการประกอบอาหาร  เรื่อง  ยำผลไม้รวม 
2.            แอปเปิ้ล,  องุ่น,  ฝรั่ง,  ชมพู่,  แก้วมังกร,  น้ำเชื่อม,  น้ำมะนาว และเกลือ
3.            กะละมัง, ถ้วย, จาน, ชาม, ช้อน, เขียง, มีด

สิ่งที่นักเรียนจะได้รับ

            -  เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อเล็กในการสัมผัส หยิบจับสิ่งของในการปฏิบัติกิจกรรมประกอบอาหารเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงและคล่องแคล่ว
-  เด็กรู้จักชื่อ สี  รูปทรง  และประโยชน์ของผลไม้   วิธีการทำยำผลไม้รวม         การรักษาความสะอาด  และการทำงานร่วมกับผู้อื่น

การวัดผล/ประเมินผล

            สิ่งที่ประเมิน

-     ความคล่องแคล่วของกล้ามเนื้อเล็ก
-     การรับรู้โดยการสัมผัส
-     การทำยำผลไม้รวม
                        -     การแสดงความคิดเห็น  และการตอบคำถาม
-     การปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข  สนุกสนาน  เพลิดเพลิน
            วิธีการประเมิน
-                      สังเกตการใช้มือและนิ้วมือเคลื่อนไหวหรือปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว
-                      สังเกตการใช้มือและนิ้วมือในการหยิบ จับ อุปกรณ์ ส่วนผสมตามลักษณะงานที่กำหนดได้
-                   สังเกตการทำยำผลไม้รวม
-                   สังเกตการแสดงความคิดเห็น และการตอบคำถาม
-                   สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข  สนุกสนาน  เพลิดเพลิน
            เครื่องมือประเมิน
-                   แบบสังเกตพฤติกรรมการประกอบอาหาร
เกณฑ์การประเมิน
-     ระดับ  3  หมายถึง  เด็กสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ด้วยตัวเอง
-     ระดับ  2  หมายถึง  เด็กปฏิบัติกิจกรรมได้โดยการชี้นำ
-     ระดับ  1  หมายถึง  เด็กไม่แสดงพฤติกรรม / ปฏิบัติกิจกรรมไม่ได้
          เกณฑ์การตัดสิน

คะแนนเฉลี่ย
1.00-1.49
หมายถึง
ปฏิบัติกิจกรรมได้ระดับน้อย
คะแนนเฉลี่ย
1.50-2.49
หมายถึง
ปฏิบัติกิจกรรมได้ระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย
2.50 ขึ้นไป
หมายถึง
ปฏิบัติกิจกรรมได้ระดับมาก

            เกณฑ์ผ่านการประเมิน
-                   เด็กได้ระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไป
ข้อเสนอแนะ
บูรณาการกับกิจกรรมสร้างสรรค์  ให้เด็กวาดรูปผลไม้ตามจินตนาการ ระบายสีให้สวยงาม จัดทำเป็นผลงานเด็กในแฟ้มผลงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น